สารบัญ
   


           ทรงประกาศหลักการแห่งพระพุทธศาสนา

              

ทรงประกาศหลักการแห่งพระพุทธศาสนา
ต่อมาพระพุทธองค์ทรงยกย่องพระอุปติสสะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ปรากฏพระนามว่า พระสารีบุตร
 อัครสาวก ยกย่องพระโกลิตะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายปรากฏนามว่า พระมหาโมคคัลลานะอัครสาวก
 ทรงเปิดประชุมจาตุรงคสันนิบาต ในตอนบ่ายแห่งวันเพ็ญเดือนมาฆะวันนั้นขณะที่พระพุทธองค์เสด็จกลับ
 จากถ้ำสูกรขตา ข้างเขาคิชฌกูฏมาถึงพระเวฬุวันวิหารพระสงฆ์อรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ก็ได้มาชุมนุม
 พร้อมกันเฉพาะพระพักตร์ต่างองค์ต่างมุ่งมาเฝ้าพระพุทธองค์ในเวลาเดียวกัน ซึ่งการประชุมสงฆ์ครั้งนี้ประกอบ
 ด้วยองค์ ๔ จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต

(๑) วันนั้นเป็นวันสำคัญทางจันทรคติ คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ หรือเดือนมาฆะ
(๒) เป็นการชุมนุมของพระอรหันต์ที่มีจำนวนมากเป็นครั้งแรก จำนวน ๑,๒๕๐ องค์
(๓) พระอริยสงฆ์ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ที่มีคุณสมบัติระดับสูง คือู้ได้อภิญญา ๖
(๔) พระอริยสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุคือ คือได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์โดยตรง

พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าการประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวนี้ เป็นโอกาสดียิ่งที่จะได้ทรงแสดงหลักการสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงทรงเปิดการประชุมและทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมนั้น หลักการสำคัญที่พระพุทธองค์แสดงนั้น ถือเป็นการประกาศธรรมนูญหรือปฏิญญาแห่งพระพุทธศาสนา โดยแก่

1. หลักการในการปฏิบัติตนของชาวพุทธ
การไม่ทำปาบทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตใจให้สะอาดผ่องใส

2. หลักการในการเผยแผ่ธรรม
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่ประทุษร้ายผู้อื่น
การสำรวมในวินัย (ปาติโมกข์)
การรู้จักประมาณบริโภค
การอาศัยอยู่ในที่สงบ สันโดษ
การบำเพ็ญเพียรทางจิต

3. หลักการในการปฏิบัติธรรม
การใช้ขันติคือความอดทนเป็นเลิศ
การถือเอาพระนิพพานเป็นเป้าหมาย
บรรพชิต จะต้องไม่ทำร้ายผู้อื่น
ผู้เป็นสมณะ ย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่น